ไอทีวี 2

ปมถือหุ้น บมจ. ไอทีวี ของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกลอาจจะเป็นอุปสรรคสำคัญ ในการก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของประเทศไทย

หลังจากมีผู้ร้องเรียนต่อสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ขอให้ตรวจสอบว่า นายพิธา เข้าข่ายมีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 98 (3) หรือไม่ รวมถึงให้ตรวจสอบด้วยว่าคุณสมบัติของหัวหน้าพรรค จะส่งผลต่อการเซ็นรับรองผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. ทั้งแบบแบ่งเขต และแบบบัญชีรายชื่อ ของพรรคก้าวไกล หรือไม่

ไอทีวี ยังมีสถานะเป็น “สื่อมวลชน” หรือไม่

ผศ.ดร. ปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บอกว่า บมจ. ไอทีวี ไม่ได้ประกอบกิจการสื่อมวลชนมาตั้งแต่ปี 2550 และได้ถอนชื่อออกจากตลาดหลักทรัพย์ตั้งแต่ปี 2557 สาเหตุที่ยังคงสถานะเป็นบริษัท เพราะยังมีการฟ้องร้องอยู่กับสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) จากการที่ สปน. ยกเลิกสัญญาสัมปทานที่ทำกับ บมจ. ไอทีวี

ตรวจสอบข้อมูลจาก แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) สิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2552 ของบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) ได้ระบุถึงเหตุการณ์วันที่ 6 มี.ค. 2550 ที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้สถานีโทรทัศน์ไอทีวี ยุติออกอากาศ ณ เวลา 24.00 น. ของวันที่ 7 มี.ค. 2550 และ สปน. ได้มีหนังสือลงวันที่ 7 มี.ค. 2550 บอกเลิกสัญญาเข้าร่วมงานฯ และแจ้งให้ไอทีวี ดำเนินการชำระหนี้ และ “ส่งมอบทรัพย์สินที่บริษัทฯ มีไว้ใช้ในการดำเนินกิจการตามสัญญาร่วมงานฯ คืนให้ สปน. ภายในเวลาที่ สปน. กำหนด” ซึ่งการบอกเลิกสัญญาอนุญาตให้ดำเนินการดังกล่าว เป็นเหตุให้ไอทีวีจำเป็นต้องหยุดดำเนินการธุรกิจสถานีโทรทัศน์ไอทีวีนับแต่นั้นมา

นอกจากนี้ ไม่เพียงทรัพย์สินดังกล่าว แต่ยังรวมถึงคลื่นความถี่ยูเอชเอฟ ที่ไอทีวีเคยใช้อยู่เดิม รวมทั้งกิจการสถานีโทรทัศน์ภายใต้ชื่อสถานีทีไอทีวี ให้แปรรูปกิจการไปเป็นทีวีสาธารณะ ภายใต้ พ.ร.บ. องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 ม.ค. 2551 เนื่องจากบรรดาทรัพย์สินต่าง ๆ รวมทั้งสิทธิ หน้าที่ และภาระผูกพันของบริษัท ตามสัญญาเข้าร่วมงานฯ ได้ตกเป็นของรัฐตามบทเฉพาะกาล มาตรา 56 ของ พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าว

“จึงไม่น่าจะมีการถกเถียงอีกแล้วว่า ณ วันที่ นายพิธาสมัคร ส.ส. ไอทีวีเป็นสื่อ (มวลชน) หรือเปล่าในเมื่อทรัพย์สินทั้งหมดถูกโอนถ่ายไปเป็นส่วนหนึ่งของไทยพีบีเอสในปัจจุบันแล้ว” น.ส. สฤณี อาชวานันทกุล นักวิชาการอิสระด้านการเงินการลงทุนกล่าว

ไอทีวี 1

ยุติกิจการแล้ว แต่มีรายได้ จะตีความอย่างไร

คำถามของผู้ถือหุ้นรายหนึ่งที่เข้าร่วมการประชุมด้วยตัวเอง ซึ่งปรากฎในเอกสารหน้าสุดท้ายของรายงานการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2566 ว่า “ไอทีวี มีการดำเนินการเกี่ยวกับสื่อหรือไม่”

คำตอบที่ปรากฎในรายงานระบุว่า “ปัจจุบัน บริษัทยังดำเนินกิจการอยู่ ตามวัถตุประสงค์ของบริษัท และยังมีการส่งงบการเงิน และยื่นแบบภาษีเงินได้นิติบุคคลตามปกติ”

น.ส. สฤณี อธิบายว่า ในส่วนของการดำเนินกิจการอยู่ และยังส่งงบการเงินนั้น ต้องพิจารณาให้ละเอียดเพิ่มขึ้น เพราะการคงสภาพบริษัทอาจเกิดขึ้นสืบเนื่องจากข้อพิพาทที่เป็นคดีกับ สปน. ที่ยังคงดำเนินอยู่ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นหากว่าคดีสิ้นสุดลง

เธอได้ยกตัวอย่างกรณีของผู้ถือหุ้นรายหนึ่งที่เข้าประชุมด้วยตัวเองที่ถามประธานบริษัทว่า “หากคดีความทั้งหมดจบสิ้นลง บริษัทจะมีปันผลหรือไม่ มีแผนดำเนินการธุรกิจต่อไปอย่างไร จะเข้าตลาดหลักทรัพย์อีกหรือไม่ หรือมีแผนจะชำระบัญชีคืนเงินให้ผู้ถือหุ้นหรือไม่”

คำตอบที่ประธานบริษัทฯ มีสาระสำคัญคือ ต้องรอผลคดีให้สิ้นสุดก่อน จากนั้นบริษัทฯ จะพิจารณาทางเลือกที่เหมาะสมและคำนึงถึงประโยชน์ให้แก่ผู้ถือหุ้นต่อไป ไม่ว่าจะเป็น การจ่ายเงินปันผล การดำเนินธุรกิจหลักอะไรต่อไป หรือ การชำระบัญชี

อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาถึงสถานะทางการเงินของไอทีวี ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2565 ไอทีวี มีหนี้สินรวมราว 2,892 ล้านบาท ส่วนใหญ่มาจากการประมาณการค่าอนุญาตให้ดำเนินการส่วนต่างค้างจ่ายและดอกเบี้ยตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ ในขณะที่ส่วนของผู้ถือหุ้นยังคงติดลบเป็นเงินราว 1,626 ล้านบาท

นัยของแหล่งที่มาของรายได้สำคัญอย่างไร

น.ส. สฤณี และ ผศ.ดร. ปริญญา เห็นตรงกันในประเด็นที่ว่า การพิจารณาแหล่งที่มาของรายได้เป็นสิ่งสำคัญต่อการตีความว่า กิจการใด ๆ นั้นเป็นสื่อหรือไม่ โดยทั้งสองได้อ้างอิงถึงคดีการถือครองหุ้นโดยคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 18-19/2563

นักวิชาการด้านกฎหมายจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ยกตัวอย่าง กรณี บ. ทาโร่ทาเลนท์ จำกัด ของ น.ส. ภาดาท์ วรกานนท์ อดีต ส.ส. พรรคพลังประชารัฐ แม้ว่าบริษัทดังกล่าวจะมีการระบุถึงวัตถุประสงค์กิจการที่ว่า ประกอบกิจการโรงพิมพ์ พิมพ์หรือรับจ้างพิมพ์ ออกหนังสือพิมพ์ วารสาร หนังสือ และสิ่งพิมพ์อื่น ๆ ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศทุกภาษา

แต่ปรากฏว่า เมื่อพิจารณางบประจำปี (รายได้และกำไร) บริษัท ไม่มีรายได้ใด ๆ จากการให้บริการ อีกทั้งเมื่อพิจารณารายได้บริษัทในปี 2560 แล้ว เป็นรายได้ที่มาจากการประกอบกิจการฝึกอบรม ซึ่งไม่ได้มาจากการประกอบกิจการสื่อแต่อย่างใด

ดังนั้น ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าบริษัทดังกล่าวมิได้ประกอบกิจการหนังสือพิมพ์ หรือสื่อมวลชนใด ๆ โดยศาลรัฐธรรมนูญมีมีติข้างมาก ว่า น.ส. ภาดาท์ มิได้ประกอบกิจการหนังสือพิมพ์ และสื่อมวลชน

อีกกรณีหนึ่งคือ กรณี นายปกรณ์ มุ่งเจริญพร ส.ส. จากพรรคภูมิใจไทย แม้ว่าบริษัท สุรินทร์ ซิตี้ จำกัด ของเขาจะมีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการวิทยุโทรทัศน์ทุกประเภท แต่เขาชี้แจงว่า บริษัทฯ ประกอบกิจการธุรกิจด้านกีฬาอาชีพ การแข่งกีฬา และหมายเหตุประกอบงบการเงินระบุว่า ประกอบกิจการกีฬาฟุตบอล ฟุตซอล ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า บริษัทดังกล่าวไม่ได้ประกอบกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใด ๆ

เมื่อเทียบเคียงกับกรณีดังกล่าวแล้ว ในส่วนประเด็นเรื่องรายได้ที่เกิดขึ้นในงบการเงินปี 2565 ของไอทีวี มีอยู่ 20.5 ล้านบาทนั้น น.ส. สฤณี ระบุว่า ทั้งหมดล้วนเป็นผลตอบแทนจากเงินลงทุนและดอกเบี้ยรายรับ ที่บริษัทฯ ได้ลงทุนไว้ตั้งแต่ก่อนที่จะถูกบอกเลิกสัญญากับ สปน.

พิธาถือหุ้นที่มีมูลค่าติดลบกว่าครึ่งแสนบาท

เมื่อย้อนกลับมาพิจารณาการถือหุ้นของนายพิธาแล้ว น.ส. สฤณี มองว่า หัวหน้าพรรคก้าวไกลถืออยู่ราว 42,000 หุ้น แต่คิดเป็นสัดส่วนเพียง 0.0035% ของหุ้นทั้งหมดเท่านั้น

ขณะที่ ผศ.ดร. ปริญญา ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า หากพิจารณาจากหนี้สินในส่วนของผู้ถือหุ้นยังคงติดลบ 1,626 ล้านบาท ส่งผลทำให้มูลค่าหุ้นที่นายพิธาถืออยู่ก็คิดเป็นมูลค่าติดลบด้วย คือ ติดลบ 56,910 บาท

อย่างไรก็ตาม มีหลายฝ่ายตั้งคำถามว่า เพราะเหตุใดนายพิธาจึงไม่ขายหุ้นออกไปก่อนที่จะเข้ามาสู่เส้นทางการเมือง น.ส. สฤณี ตอบบีบีซีไทยในฐานะผู้ลงทุนรายย่อยทั่วไปที่ไม่เกี่ยวข้องกับบริษัทไอทีวีว่า สามารถอธิบายด้วยเหตุผลสองประการคือ

หากถือหุ้นในบริษัทที่ถูกให้ออกจากตลาดหลักทรัพย์ เนื่องจากบริษัทขาดสภาพคล่อง การขายหุ้นที่ถือนั้นในตลาด ไม่ใช่เรื่องง่ายอีกต่อไป

หากไอทีวียังคงประกอบกิจการอยู่จริง ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะจูงใจให้มีคนสนใจเข้ามาซื้อหุ้นต่อ เพราะจะประเมินมูลค่าหุ้นอย่างไร

“ด้วยสถานการณ์เช่นนี้ ต่อให้ผู้ถือหุ้นอยากขายหุ้นออกไป ใครจะอยากซื้อและจะซื้อในราคาเท่าไหร่” เธอตั้งคำถาม

พิธาโอนหุ้น ไอทีวี ให้แก่ทายาทอื่นแล้ว

ต่อมาในวันที่ 6 มิ.ย. นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคก้าวไกลโพสต์เฟซบุ๊กอธิบายถึงเหตุผลของการโอนหุ้นไอทีวีให้แก่ทายาทรายอื่น โดยระบุว่า ไม่ใช่เพราะหลีกหนีความผิด แต่หวั่นเกรงว่า บริษัท ไอทีวี อาจจะถูกทำให้คืนชีพมาเป็นสื่อมวลชนอีก หลังจาก ITV ไม่ได้เผยแพร่ออกอากาศตั้งแต่ผลของการบอกเลิกสัญญาวันที่ 7 มีนาคม 2550 มีผลใช้บังคับแล้ว เนื่องจากพบข้อพิรุธหลายประการ เช่น เมื่อวันที่ 26 เม.ย. 2566 มีการตั้งคำถามของผู้ถือหุ้นบางรายว่า บริษัท ไอทีวี มีการดำเนินการเกี่ยวกับสื่อหรือไม่

ดังนั้นเขาจึงได้หารือกับทายาทถึงประเด็นดังกล่าวและให้จัดการแบ่งมรดกหุ้นไอทีวี แก่ทายาทอื่นไปโดยสิ้นเชิง

ผมมีความมั่นใจว่า ก่อนที่ผมจะดำเนินการโอนหุ้น ITV นั้น บริษัท ITV ไม่ได้ประกอบกิจการสื่อมวลชนใดๆ ผมมั่นใจข้อเท็จจริงในอดีต แต่ข้อเท็จจริงที่จะเกิดขึ้นต่อจากนี้ผมไม่อาจคาดหมายได้ว่า บริษัท ITV จะถูกทำให้ฟื้นคืนชีพเป็นสื่อมวลชนอีกครั้งหรือไม่ การโอนหุ้นให้แก่ทายาทอื่นจึงเกิดขึ้น ไม่ใช่เป็นการโอนหุ้นเพราะหลีกหนีความผิดแต่อย่างใด


ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
เป๊ป ให้เครดิตทุกภาคส่วน คว้ารางวัลหัวหน้าผู้ฝึกสอนแห่งปี
อยากเลี้ยงหนูแกสบี้
ผู้เชี่ยวชาญ F1 หารือ Aston Martin ในช่วงเปิดฤดูกาล 2023
เว็บสล็อต แตกง่าย เว็บพนัน มีครบทุกอย่าง ที่สายปั่นตามหา
ติดตามข่าวอื่นๆได้ที่ https://scihighmodels.com/
สนับสนุนโดย  ufabet369
ที่มา www.bbc.com