เชื้อราแมว มีหลายชนิดแต่ที่พบได้บ่อยคือเชื้อ Microsporum canis จะอาศัยอยู่ตามผิวหนังของสัตว์ สามารถติดต่อกันจากแมวสู่แมวและจากแมวสู่คนได้จากการสัมผัสโดยตรง ทำให้ทาสแมวทั้งหลายที่ชอบเข้าไป กอด อุ้ม หรือเล่นกับแมว เป็นโรคผิวหนัง จากสาเหตุการติดเชื้อราแมวได้ ซึ่งต้องใช้เวลานานสักระยะหนึ่งในการรักษา เพราะสามารถกลับมาเป็นซ้ำ และเพิ่มรอยดำจากแผลเป็นมากขึ้นอีก แต่สามารถป้องกันและรักษาอาการเชื้อราแมวได้

เชื้อราแมว คืออะไร

เชื้อราแมว (Microsporum canis] คือเชื้อราที่ทำให้แมวเป็นโรคผิวหนัง แมวที่ติดเชื้อจะมีขนหลุดออกมาเป็นหย่อมๆ ผิวหนังแดง แห้ง ลอกเป็นขุยๆ และมีการตกสะเก็ดร่วมด้วย ซึ่งผู้ที่ชอบสัมผัสกับแมวโดยไม่ทำความสะอาดหลังจากสัมผัสมีโอกาสเสี่ยงที่จะติดเชื้อได้ นอกจากแมวแล้วสัตว์เลี้ยงชนิดอื่นๆ เช่น สุนัข แฮมสเตอร์ ก็สามารถพบการติดเชื้อรานี้ได้เช่นกัน

อาการและการป้องกันผู้ที่ติดเชื้อราแมว

อาการ

  • ผื่นแดงขึ้นตามร่างกายทั้งวงเล็กและวงใหญ่
  • มีขุยขึ้นตามบริเวณรอบๆ ผื่นแดง
  • มีอาการคันตามผื่นแดง
  • อาจเกิดผื่นแดงเพิ่มขึ้นเมื่อเกาที่บริเวณผื่นแดงและไปสัมผัสจุดอื่นๆ บนร่างกาย
  • หากมีการติดเชื้อที่หนังศีรษะอาจพบเส้นผมในบริเวณที่ติดเชื้อร่วงเป็นหย่อม

วิธีรักษา

  • สำหรับที่ผิวหนัง
    – ให้ทายาฆ่าเชื้อราที่ได้รับจากแพทย์อย่างต่อเนื่อง โดยอาการต่างๆ จะดีขึ้นภายใน 3 สัปดาห์
    – หากพบผื่นจำนวนมาก แพทย์อาจให้รับประทานยาต้านเชื้อราควบคู่กับการทายาฆ่าเชื้อราไปด้วย
  • สำหรับการติดเชื้อบนหนังศีรษะ ควรรับประทานยาต้านเชื้อราตามที่แพทย์สั่งอย่างต่อเนื่องการใช้ยาทาหรือแชมพูฆ่าเชื้อราเพียงอย่างเดียวอาจมีประสิทธิภาพในการรักษาไม่เพียงพอ

เพราะเหตุใดรอยดำจากแผลเป็นจากการติดเชื้อราแมวถึงไม่หาย

รอยดำจากแผลเป็นสำหรับผู้ที่ติดเชื้อราแมว มักจะหายจากการรักษาประมาณ 2-3 เดือน แต่เกิดการติดเชื้อซ้ำขึ้นใหม่ ทำให้ผู้ที่ติดเชื้อราเข้าใจผิดคิดว่ารักษาแล้วแต่ไม่มีการบรรเทาอาการ แต่ความจริงแล้ว รอยดำจากแผลเป็นได้ลดลง แต่เมื่อติดเชื้อซ้ำก็ทำให้เกิดรอยดำใหม่ขึ้นนั่นเอง

วิธีการวินิจฉัยโรค

1. ถอนขนเพื่อส่องตรวจดูสปอร์ของเชื้อรา

2. ใช้โคมไฟ Wood lamp ส่องตรงบริเวณรอยโรค หากมีสีเขียวสะท้อนแสงรอบวงรอยโรคหรือสะเก็ด แปลว่ามีโอกาสเป็นเชื้อรา แต่ข้อจำกัดของวิธีนี้คือจะตรวจได้เฉพาะเชื้อราประเภท Microsporum Canis และมีความแม่นยำไม่สูงนัก

3. เพาะเชื้อรา สัตวแพทย์จะทำการเก็บขนรอบวงไปเพาะเชื้อเป็นเวลา 7-21 วัน ถ้าเป็นเชื้อรา อาหารเพาะเชื้อจะทำการเปลี่ยนสีและมีโคโลนีสีขาวเกิดขึ้น

การป้องกันเชื้อราแมว

  • ล้างมือ และอวัยวะต่างๆ ที่สัมผัสกับแมว และสัตว์เลี้ยงอื่นๆ ให้สะอาด
  • ทำความสะอาดสิ่งของเครื่องใช้ ที่มีการสัมผัสกับแมว และสัตว์เลี้ยงอื่นๆ
  • นำแมว และสัตว์เลี้ยงอื่นๆ ไปทำความสะอาด โดยใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ป้องกันเชื้อรา และเป่าขนให้แห้ง หลังจากทำความสะอาดเป็นประจำ
  • นำแมว และสัตว์เลี้ยงอื่นๆ ไปฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อราเป็นประจำ
  • ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัส และใกล้ชิดแมว และสัตว์เลี้ยงอื่นๆ ตลอดเวลา เช่น การนำแมวไปนอนบนเตียงด้วย เป็นต้น
  • หากพบว่าแมว และสัตว์เลี้ยงอื่นๆ มีความผิดปกติ ควรรีบนำไปพบสัตวแพทย์

เชื้อราแมว

เชื้อราแมวติดต่อสู่คนได้อย่างไร

เชื้อราแมวสามารถติดต่อสู่คนได้จากการสัมผัสกับผิว หรือขนของแมว โดยไม่จำเป็นต้องมีบาดแผล ก็ทำให้คนเลี้ยงติดเชื้อราจากแมวได้ หรือแม้แต่บริเวณบ้านที่แมวอยู่มักจะมีเชื้อราอยู่ โดยสปอร์ของเชื้อราจะหลุดร่วงมาจากผิว หรือขนของแมว และสามารถอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานเป็นเดือน หรือเป็นปีเลยทีเดียว การทำลายสปอร์ควรใช้สารฟอกขาว ละลายในน้ำในอัตราส่วน 1 ต่อ 10 เพื่อทำลายสปอร์ในอุปกรณ์ของสัตว์เลี้ยง และสิ่งแวดล้อม

การรักษาและการป้องกันโรคเชื้อราแมว

แยกแมวเป็นเชื้อราออกจากน้องแมวที่ยังไม่ป่วยโดยเร็วที่สุด เพราะอาการของเชื้อราสามารถติดต่อกับแมวด้วยกันได้ หากมีแมวที่เลี้ยงรวมกันหลายตัวควรปฏิบัติดังนี้ หากมีแมวตัวใดตัวหนึ่งมีอาการของโรคผิวหนัง

  • พาแมวทุกตัวไปตรวจเพาะเชื้อที่คลินิก
  • แยกแมวติดเชื้อราและไม่ติดเชื้อราออกจากกัน
  • ควรยกเลิกโปรแกรมการผสมพันธุ์ และการพาแมวออกไปนอกสถานที่
  • ควรใช้แชมพูสำหรับรักษาอาการเชื้อราแมวในการอาบน้ำโดยเฉพาะ

การรักษาเชื้อราแมว

โดยปกติแล้วการรักษาอาการเชื้อราดังกล่าวในแมวนั้นสามารถทำได้ด้วยการให้ยาฆ่าเชื้อ ใช้แชมพูฆ่าเชื้อแบบเฉพาะ และอาจจะให้กินยาร่วมด้วยจนกว่าจะอาการดีขึ้น ซึ่งมีข้อปฏิบัติดังนี้

  • ให้ยากับน้องแมวกินตามที่สัตวแพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด
  • หากแมวมีอาการเบื่ออาหาร ซึม ควรหยุดยากินและพาไปพบสัตวแพทย์ทันที
  • พาน้องแมวไปรับการตรวจร่างกายตามที่สัตวแพทย์นัดอย่างสม่ำเสมอ

การรักษาและป้องกันเชื้อราแมวในคน

การรักษาอาการเชื้อราที่ติดมาจากแมวในคนนั้น ส่วนมากจะใช้วิธีทายาฆ่าเชื้อราโดยตรงบนผิวหนัง หากอาการไม่หนักมาก ก็จะดีขึ้นภายใน 3-4 สัปดาห์ แต่ถ้าหากมีรอยแดงเป็นวงๆ เป็นบริเวณกว้าง ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย อาจจะต้องใช้ยาแบบทาและยากินร่วมกัน สำหรับใครที่หายจากอาการแล้ว หรือยังไม่เคยเป็น ก็อย่าลืมป้องกันตัวเองให้ห่างไกลจากโรคเชื้อราแมวกันด้วย ซึ่งสามารถทำได้ดังนี้

  • หากพบอาการเบื้องต้นของอาการโรคผิวหนังในแมวที่เลี้ยงไว้ ให้รีบนำไปพบสัตวแพทย์โดยด่วนที่สุด
  • ทำความสะอาดบริเวณที่สัมผัสกับสัตว์เลี้ยงให้สะอาดเสมอหลังการสัมผัส
  • ดูแลน้องแมวที่เลี้ยงไว้ให้สะอาด อาบน้ำสม่ำเสมอ และเป่าขนให้แห่งทุกครั้งหลังอาบน้ำ
  • ทำความสะอาดบริเวณที่เลี้ยงน้องแมว เพื่อไม่ให้มีความอับชื้น
  • เลือกใช้แชมพูหรือครีมอาบน้ำที่ช่วยฆ่าเชื้อบนผิวหนัง
  • หากพบว่าตนเองเริ่มมีอาการตามผิวหนัง ให้รีบไปพบแพทย์โดยด่วน

ปกติแล้วสภาพผิวหนังปกติของคนจะมีแบคทีเรียที่รักษาความสมดุลบนผิวหนังไว้ไม่ให้ง่ายต่อการติดเชื้อ แต่ช่วงเวลาที่เราเครียดบ่อย หรือป่วย จะทำให้ภูมิคุ้มกันลดลง หรือแม้แต่การรบกวนผิวหนังมากเกินไป เช่น ล้างมือด้วยสบู่ หรือสเปรย์แอลกอฮอล์บ่อย อาจทำให้แบคทีเรียดีๆ บนผิวตายไป ง่ายต่อการติดเชื้อรามากขึ้น ส่วนวิธีจัดการกับเชื้อราแมว มีดังต่อไปนี้

1. หากมีอาการน้อย มีผื่นขึ้นไม่มาก 1-2 จุด ใช้ยาทาฆ่าเชื้อราต่อเนื่องประมาณ 3 สัปดาห์ ผื่นจะค่อยๆ หายไป

2. หากมีอาการมาก ผื่นขึ้นทั่วร่างกาย ต้องใช้ทั้งยาทาและยากินร่วมกัน ระยะเวลาในการรักษาตั้งแต่ 3 สัปดาห์ขึ้นไป

3. หากจะซื้อยามารักษาเอง ควรปรึกษาเภสัชกรก่อนใช้ยา หรือควรไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัย และการรักษาอย่างถูกต้อง

4. ควรพาแมวไปพบสัตวแพทย์ด้วย เพื่อรักษาเชื้อราให้หายดี

ในส่วนนี้เป็นการรักษาอาการติดเชื้อ ซึ่งไม่ใช่การรักษารอยดำที่เกิดจากการติดเชื้อ และถึงแม้ว่าอาการเชื้อราจะหายแล้ว รอยดำจากเชื้อจะยังคงอยู่ โดยจะจางไปเองภายใน 2-3 เดือน และมักไม่มีแผลเป็นเกิดขึ้น

กลุ่มเสี่ยงที่จะติดเชื้อราแมว

  • เด็กเล็ก
  • ผู้สูงอายุ
  • ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง
  • ผู้เลี้ยงสัตว์หลายชนิด
  • ผู้ที่คลุกคลีใกล้ชิดกับแมว

วัคซีนป้องกันเชื้อราแมว

วัคซีนป้องกันเชื้อราแมวมีชื่อทางการค้าว่า Biocan M โดยเป็นวัคซีนที่ป้องกันได้เฉพาะเชื้อราชนิด Microsporum canis ที่เกิดในสุนัขและแมวเท่านั้น สามารถฉีดได้เมื่อสุนัขและแมวอายุ 2 เดือนขึ้นไป และหลังฉีดวัคซีนหลักครบหมดแล้ว ควรฉีดกระตุ้นซ้ำอีก 3 เข็ม หลังจากนั้นควรฉีดกระตุ้นทุก 1 ปี อย่างไรก็ตาม วัคซีนจะป้องกันการติดเชื้อราในสัตว์เลี้ยงเท่านั้น ไม่ได้ป้องกันการติดในคน ซึ่งหมายความว่าเราอาจจะยังติดเชื้อราแมวจากน้องเหมียวได้ แม้แมวจะไม่แสดงอาการป่วยเลยก็ตาม ดังนั้นจึงอยากย้ำว่าควรหมั่นดูแลทำความสะอาดขนของสัตว์เลี้ยง อาบน้ำเป่าขนให้แห้ง และหากสัตว์เลี้ยงมีผื่น ขุย หรือขนร่วง ควรรีบพาไปพบสัตวแพทย์โดยด่วน

 

นอกจากเชื้อราแมวแล้ว ยังมีสิ่งอื่นๆ ที่ทำให้คนติดเชื้อจากสัตว์เลี้ยงได้ ไม่ว่าจะเป็น เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย และพวกปรสิต เช่น เห็บ หมัด ต่างๆ ซึ่งทำให้คนติดเชื้อจากสัตว์เลี้ยงเป็นโรคต่างๆ ได้ เช่น โรคภูมิแพ้ โรคหิด หรือพิษสุนัขบ้า อีกทั้งเชื้อโรคบางชนิดในสัตว์เลี้ยงยังเป็นสาเหตุทำให้คนติดเชื้อ และแพร่เข้าสู่คนด้วยกันเองได้  ดังนั้นทาสแมวทั้งหลายที่มีอาการของโรคผิวหนัง และสังเกตว่าแมวมีอาการติดเชื้อรา ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาทันที

 

 

ติดตามอ่านเรื่องเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงได้ที่ scihighmodels.com
สนับสนุนโดย  ufabet369